Home / Papers / แนวทางการพัฒนาศักยภาพครูช่างอุตสาหกรรมโดยนำเทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน (Virtual Reality : VR) มาบูรณาการกับการเรียนการสอนในยุคดิจิทัล

แนวทางการพัฒนาศักยภาพครูช่างอุตสาหกรรมโดยนำเทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน (Virtual Reality : VR) มาบูรณาการกับการเรียนการสอนในยุคดิจิทัล

88 Citations2024
สนธยา บุญประเสริฐ
Journal Of Technical Education Development

No TL;DR found

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาศักยภาพครูช่างอุตสาหกรรมโดยนำเทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน (Virtual Reality : VR) มาบูรณาการกับการเรียนการสอนในยุคดิจิทัล ในสภาพปัจจุบัน เพื่อเปรียบเทียบความต้องการพัฒนาศักยภาพครูช่างอุตสาหกรรมโดยนำเทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน (Virtual Reality : VR) มาบูรณาการกับการเรียนการสอนในยุคดิจิทัล และเพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาศักยภาพครูช่างอุตสาหกรรมโดยนำเทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน (Virtual Reality : VR) มาบูรณาการกับการเรียนการสอนในยุคดิจิทัล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ ครูช่างอุตสาหกรรมในโรงเรียนเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ไทย-เยอรมัน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และครูช่างอุตสาหกรรมในสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 4 สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 206 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า ครูช่างอุตสาหกรรมมีความต้องการพัฒนาศักยภาพครูช่างอุตสาหกรรมโดยนำเทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน (Virtual Reality : VR) มาบูรณาการกับการเรียนการสอน ในยุคดิจิทัล โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย พบว่า มีความต้องการพัฒนาศักยภาพด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ (Attributes) มากที่สุด รองลงมาคือ ด้านความรู้ (Knowledge) และด้านทักษะ (Skills) ตามลำดับ เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อสามลำดับแรก พบว่า ด้านความรู้ (Knowledge) มีความต้องการเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับการเขียนเกมบนเว็บไซต์ด้วยระบบ WebVR ผ่านโปรแกรม Unity รองลงมาคือ การเขียนโปรแกรมภาษา C# บน Unity Editor และความรู้เกี่ยวกับแนวคิดในการสร้างเทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน สำหรับความต้องการพัฒนาศักยภาพ ด้านทักษะ (Skill) พบว่า มีความต้องการพัฒนาทักษะในการเขียนโปรแกรมภาษา C# บน Unity Editor รองลงมาคือ ทักษะในการใช้งานโปรแกรม SteamVR ร่วมกับโปรแกรม Unity ในการสร้างเกม และทักษะในการพัฒนา Mobile VR ด้วย Unity ในขณะที่ความต้องการพัฒนาศักยภาพด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ (Attributes) มีความต้องการพัฒนาศักยภาพความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ รองลงมาคือ การมีบุคลิกภาพและกิริยาท่าทางที่เหมาะสม และความมีระเบียบวินัย และครูช่างอุตสาหกรรมที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน ต่างกัน มีความต้องการพัฒนาศักยภาพ ครูช่างอุตสาหกรรมโดยนำเทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน (Virtual Reality : VR) มาบูรณาการกับการเรียนการสอนในยุคดิจิทัล โดยภาพรวม และรายด้าน ทุกด้าน ได้แก่ ด้านความรู้ (Knowledge) ด้านทักษะ (Skills) และด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ (Attributes) ไม่แตกต่างกัน